ธรรมชาติในเมือง
อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี (ชาวจังหวัดสุราษฎร์ธานีเรียกว่า อำเภอบ้านดอน) เป็นอำเภอที่ตั้งของตัวจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นเมืองศูนย์กลางระบบราชการ ศูนย์กลางการคมนาคมขนส่ง และเศรษฐกิจของจังหวัดสุราษฎร์ธานี และภาคใต้ตอนบน
หากจะพูดถึง อำเภอ เมือง ไม่ว่าจะเป็นจังหวัดอะไรคงจะทำให้เรานึกได้แค่ภาพ รถยนต์ที่ติดขัด การจราจรที่แน่น มลพิษทางอากาศ ตึกสูง ห้างสรรพสินค้า ขยะ และอื่นๆอีกมากมาย แต่ในมุมมองนึง อำเภอเมืองนั่นยังมีธรรมชาติที่สวยงาม ทำให้เราผ่อนคลายจากสิ่งต่างๆที่ส่งผลต่อสุขจิตและกายได้อย่างดีเลยทีเดียว เพียงแค่เรารู้จักเลือกที่จะมองหามัน
วันนี้ดิฉัน ขอนำเสนอ อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี บ้านเกิดของฉันเอง ว่าอำเภอเมืองนั้นมีดีกว่าห้างที่ติดแอร์เย็นๆ
เรามาสัมผัสธรรมชาติและอากาศบริสุทธิ์กันเถอะ
ปากน้ำตาปี จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ถ้าอยากไปเที่ยวที่ไหนสักที่ แล้วยังนึกไม่ได้ แนะนำให้ไปเที่ยวที่ปากน้ำตาปี ตั้งอยู่หมู่ที่ 3 ตำบลบางกุ้ง ห่างจากตัวเมืองสุราษฎร์ธานีประมาณ 7 กม. ตามเส้นทางสุราษฎร์ธานี-ปากน้ำ มีคิวรถโดยสารอยู่เยื้องกับห้างจุฬาสรรพสินค้า ถนนบ้านดอน
สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ ปากน้ำตาปี สุราษฎร์ธาน
ปากน้ำตาปี ตั้งอยู่หมู่ที่ 3 ตำบลบางกุ้ง ห่างจากตัวเมืองสุราษฎร์ธานีประมาณ 7 กม. ตามเส้นทางสุราษฎร์ธานี-ปากน้ำ มีคิวรถโดยสารอยู่เยื้องกับห้างจุฬาสรรพสินค้า ถนนบ้านดอนปากน้ำตาปี อยู่บริเวณอ่าวบ้านดอน เป็นแนวรอยต่อระหว่างน้ำจืดและน้ำทะเลในอ่าวไทย มีลักษณะเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่ถูกปกคลุมไปด้วยแนวป่าชายเลนที่สมบูรณ์ เต็มไปด้วยความหลากหลายทางชีววิทยา ไม่ว่าจะเป็นต้นไม้ตามชายฝั่งทะเล เช่น แสม ลำพู โกงกาง สัตว์ป่าหลากชนิด เช่น นกยางเปีย นกกระเต็น เหยี่ยวแดง จิ้งจกหางแบน งูเขียวหัวจิ้งจก ฯลฯ เป็นแหล่งศึกษาและแหล่งท่องเที่ยวทางนิเวศวิทยาที่น่าสนใจแห่งหนึ่ง นอกจากนี้ยังมีบรรยากาศที่ดีเหมาะสำหรับการมาพักผ่อนหย่อนใจ รับประทานอาหารท่ามกลางธรรมชาติที่ร่มรื่นจากผู้ประกอบการที่มาเปิดให้บริการอยู่มากมา
บึงขุนทะเล จังหวัดสุราษฎร์ธานี
บึงขุนทะเลเป็นอีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวที่คุณน่าจะได้ลองไปสักครั้ง ตั้งอยู่ที่ตำบลขุนทะเล ห่างจากตัวเมืองสุราษฎร์ธานี ไปทางถนนสายสุราษฎร์ธานี -พุนพิน ประมาณ 5 กม. สามารถนั่งรถโดยสารสายบ้านดอน-โรงเรียนตำรวจภูธร 8 ไปถึงบริเวณบึงได้ บึงขุนทะเลเป็นแหล่ง น้ำสำ
บึงขุนทะเล ตั้งอยู่ที่ตำบลขุนทะเล ห่างจากตัวเมืองสุราษฎร์ธานี ไปทางถนนสายสุราษฎร์ธานี -พุนพิน ประมาณ 5 กม. สามารถนั่งรถโดยสารสายบ้านดอน-โรงเรียนตำรวจภูธร 8 ไปถึงบริเวณบึงได้ บึงขุนทะเลเป็นแหล่ง น้ำสำคัญใช้ในการกสิกรรมนอกจากนี้ยังมีทิว ทัศน์ที่สวยงาม ตามธรรมชาติ มีศาลาสำหรับพักผ่อนหย่อนใจ และมีร้านอาหาร บริการนักท่องเที่ยวอีกด้วย
บึงขุนทะเล เป็นแหล่งน้ำจืดที่คล้ายทะเลสาปขนาดใหญ่ที่สุดของจังหวัดสุราษฎร์ธานี มีเนื้อที่ประมาณ 1,270ไร่ ครอบคลุมพื้นที่ 3 ตำบลของอำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี คือ ตำบลมะขามเตี้ย ตำบลขุนทะเล และตำบลวัดประดู่ ตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองไปทางทิศใต้ประมาณ 7 กิโลเมตร บึงขุนทะเลจัดเป็นระบบนิเวศแบบระบบเปิด(open system) รับน้ำจากคลองสาขาที่อยู่ทางด้านทิศใต้ ได้แก่ คลองชะไก่ คลองท่าแร่ คลองท่ากรวดและคลองบ้านใหม่ ส่วนทางระบายน้ำออกจากบึงมีคลอง 2 คลอง คือ คลองมะขามเตี้ยและคลองท่ากูบไหลลงสู่แม่น้ำตาปีทางด้านทิศเหนือของบึง ระบบน้ำบึงขุนทะเลได้รับอิทธิพลของน้ำทะเลที่ขึ้นลงและรุกล้ำเข้ามาถึงในเขตบึง โดยเฉพาะช่วงฤดูแล้งเป็นครั้งคราว ก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนถ่ายเทมวลสารระหว่างกันขึ้นอีกลักษณะหนึ่ง
บึงขุนทะเล มีความสำคัญทั้งในเชิงนิเวศวิทยาและสภาวะเศรษฐกิจสังคมของจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นที่อยู่อาศัยของนกน้ำชนิดที่สำคัญ เช่น นกเป็ดน้ำ นกชันและนกชนิดอื่นๆ อีกเป็นจำนวน มากเป็นแหล่งที่มีปลาน้ำจืดชุกชุม มีทัศนียภาพที่สวยงาม ประชาชนที่อยู่อาศัยอยู่โดยรอบใช้น้ำจากบึง และคลองสาขาเพื่อการเพาะปลูก อุปโภค และเลี้ยงสัตว์ ตลอดจนประกอบอาชีพด้วยการจับหาสัตว์น้ำเป็น รายได้ความเชื่อมโยงของระบบนิเวศบึงขุนทะเลกับระบบอื่นทำให้มีโอกาสสูงที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ในองค์ประกอบต่างๆ ของบึง เช่น สภาพตื้นเขินจากตะกอนดินที่น้ำพัดพาเข้ามาสู่บึง การตายทับถมของ พืชสัตว์ในบึง การถ่ายเทของเสียลงสู่บึง ซึ่งส่งผลต่อคุณภาพของน้ำในบึงอันเป็นองค์ประกอบหลักที่สำคัญ ที่สุดของระบบนิเวศนี้ จนอาจก่อความเสียหายย้อนกลับ (adverse effect) ต่อการดำรงชีพของประชาชน ที่เกี่ยวข้องในที่สุด
ปัจจุบันบึงขุนทะเลมีแนวโน้มที่จะตื้นเขิน แปรสภาพไป สืบเนื่องมาจากการแพร่ระบาด ของวัชพืชน้ำ เช่น ผักตบชวา ต้นกง สาหร่าย เป็นต้น พืชเหล่านี้เจริญเติบโตอย่างรวดเร็วปละปกคลุม พื้นที่ผิวน้ำส่วนใหญ่ของบึง รวมทั้งขึ้นอยู่อย่างหนาแน่นตามขอบบึง
เที่ยวสถานีพัฒนาฯ สัตว์ป่าเขาท่าเพชร สุราษฎร์ธานี
สถานีพัฒนาฯ มีเนื้อที่ 2,906 ไร่ สูงจากระดับน้ำทะเล 210 เมตร ประกาศเป็นป่าสงวนแห่งชาติ เมื่อ พ.ศ. 2508 โดยใช้ชื่อวนอุทยานเขาท่าเพชร ต่อมากองอนุรักษ์สัตว์ป่าได้ประกาศจัดตั้งเป็นศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่า เมื่อ พ.ศ. 2519 ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น สถานีพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่าเขาท่าเพชร
ภายในสถานีพัฒนาฯ เป็นป่าแบบป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ มีไม้ตะเคียนทราย ไม้คอแลน กระบก หวายแดง รอบบริเวณร่มรื่นด้วยต้นไม้ใหญ่มากมาย และยังสามารถพบสัตว์ที่อาศัยอยู่ในสถานี อาทิ กระจง หมูป่า นกปรอด นกกระจิบกินปลี นกกระจิบเล็ก บนยอดเขาสามารถชมทิวทัศน์รอบตัวเมืองสุราษฎร์ได้โดยรอบ และเป็นที่ตั้งของ พระธาตุศรีสุราษฎร์ในพระบรมราชูปถัมภ์ สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2500 นับเป็นปูชนียสถานองค์แรกของชาวบ้านดอน ต่อมาพระธาตุชำรุดมีรอยร้าวที่ฐาน พระธาตุจึงถูกรื้อแล้วสร้างขึ้นใหม่เป็นทรงสูงเรียวลักษณะคล้ายลำเทียน นับว่าเป็นสถาปัตยกรรมที่สวยงาม
ภายในสถานีพัฒนาฯ มีเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ 800 เมตร มีป้ายสื่อความหมาย สามารถเดินศึกษาธรรมชาติด้วยตนเอง นอกจากนั้นยังมีที่กางเต็นท์สำหรับนักท่องเที่ยว แต่ต้องนำเต็นท์มาเอง โดยทำหนังสือถึงหัวหน้าสถานีพัฒนาและส่งเสริมอนุรักษ์สัตว์ป่าเขาท่าเพชรตู้ ป.ณ. 29 อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี 84000
การเดินทาง : ไปสถานีพัฒนาและส่งเสริมอนุรักษ์สัตว์ป่าเขาท่าเพชร อยู่ห่างจากตัวเมือง 6 กิโลเมตร ใช้เส้นทางสายสุราษฎร์ธานี-บ้านนาสาร จากถนนใหญ่มีทางแยกด้านซ้ายมือ สู่ที่ทำการอีก 1.5 กิโลเมตร
ที่มา http://www.hoteldirect.in.th/
มาดูตะวันลับฟ้าที่เกาะลำพู เมืองคนดีกันดีไหม
วันนี้เราขอนำเสนอสถานที่ท่องเที่ยวที่ถือว่าเป็นที่พักผ่อน ผ่อนคลาย
ที่ดีสำหรับชาวชาวสุราษฎร์ธานี สถานที่แห่งนี้ มีนามว่า เกาะลำพู ค่ะ
ไม่ได้ล้อมรอบด้วยน้ำทะเลหรอกนะคะ แต่ล้อมรอบด้วยแม่น้ำตาปี
ซึ่งเป็นแม่น้ำสายสำคัญที่คอยชุบเลี้ยงชีวิตของพวกเราชาวสุราษฎร์ธานีก็
ว่าได้ค่ะ....ถือว่าครั้งนี้ตั้งใจเป็นอย่างมากในการไปเก็บภาพดีๆเหล่านี้
มากฝากชาวโอเคทุกๆท่านค่ะ
หลังจากเรียนพิเศษในเย็นวันเสาร์ที่แสนสบายใจซะเหลือเกิน หยิบกล้อง
จูงมือเพื่อนรักและน้อง ไปยัง ณ ที่แห่งนี้...........
ปี 2546 เกาะลำพู ได้รับการคัดเลือกให้เป็นสวนสาธารณะดีเด่น ในการออกกำลังกาย ระดับประเทศ แต่หากย้อนเมื่อราวยี่สิบปีที่ผ่านมา เกาะลำพูในวันวานกลับมีสภาพที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิงกับภาพของสวน สาธารณะสมัยใหม่ที่มีเหมือนๆกันอยู่เต็มบ้านเต็มเมือง เมื่อก่อนเกาะลำพูเป็นพื้นที่ดินเลนน้ำท่วมถึงเกือบตลอดทั้งปี เป็นป่ารก และรอบเกาะ มีต้นลำพูขนาดใหญ่เรียงรายโดยรอบราว300-400ต้นจนมีชื่อติดปากว่าเกาะลำพู มีหิ่งห้อยบินในตอนกลางคืนจำนวนมากเห็นแสงระยิบระยับเต็มเกาะไปหมด เดี๋ยวนี้เหลือต้นลำพูไม่ถึงสิบต้น คนรุ่นใหม่ๆ
ไม่รู้แล้วว่าที่มาของชื่อเกาะมาจากไหน คนปากอ่าวบ้านดอนวัย 65 ปี เล่าย้อนอดีตให้ฟัง
เกาะลำพู เป็นเกาะกลางแม่น้ำตาปี มีพื้นที่ 6 ไร่กั้นระหว่างเขตเทศบาลเมืองกับเขตในบาง ซึ่งเป็นชุมชนโบราณมีคลองเล็กคลองน้อยนับร้อยสาย เดิมเกาะแห่งนี้เป็นเกาะที่ได้รับสัมปทานทำประโยชน์ทางธุรกิจ เมื่อหมดอายุสัมปทานแล้ว ทางองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.)
ได้พัฒนาให้เป็นพื้นที่สาธารณะ เป็นสถานที่พักผ่อนและออกกำลังกายของประชาชน
ตอนนี้เกาะลำพูมีต้นลำพูน้อยมาก เพราะมีการดูดทรายรอบๆ เกาะขึ้นมาถมบนเกาะทั้งหมด และ ต้นลำพูกับทรายไม่ถูกกันอยู่แล้ว เพราะทรายทำให้รากต้นลำพูร้อน เมื่อมันทนไม่ได้ก็ตายเกือบหมด
ขอเชิญทุกท่านตามดิฉันมา แล้วจะรู้ว่าธรรมชาติที่งดงามยามเย็น
เป็นอย่างไรค่ะ...........
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น