วันอาทิตย์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557




ข้อสอบ O-net วิชาคอมพิวเตอร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย


1.ข้อใดคือคุรสมบัติพื้นฐานของข้อมูลที่ดีเพื่อนำมาใช้ในการประมวลผล
ในการใช้งานระบบสารสนเทศ.

1.  ความถุกต้อง  ความทันสมัย  ความกระชับ
2.  ความสมบูรณ์  ความถุกต้อง  ความกระชับ
3.  ความถูกต้อง  ความกระชับ  ความเป็นปัจจุบัน
4.  ความสมบูรณ์  ความถุกต้อง  ความหลากหลาย
2.ข้อใดเป้นการนำระบบสารสนเทศและการสื่อสารข้อมูลมาใช้ในงานที่ให้
ผลตอบแทนน้อยที่สุด.

1.  ใช้ทำบัญชีรายรับรายจ่ายส่วนบุคคล
2.  ใช้ในการปลูกผักในแปลงเกาตรโรงเรียน
3.  ใช้ในการควบคุมผลิตผลไม้กระป๋องส่งออก
4.  ใช้ในการควบคุมการผลิตและจำหน่ายชิ้นส่วนรถยนต์ของโรงงาน

3.อุปกรณ์ชนิดใดใช้เทคโนโลยีจานแสง(Optical Technology)
1.  เครื่องเล่นเทป                     2.  หน่วยขับซีดีรอม
3.  หน่วยความจำแบบแฟลช     
4.  อุปกรณ์รับเข้าแบบจอสัมผัส

4.ชาวไร่นำอ้อยมาแปรรูปเป็นน้ำอ้อยสดแล้วทิ้งชานอ้อยจำนวนมากเป็นขยะ
ชาวไร่จึงหาวิธีนำชานอ้อยมาเป็นกระดาษ การนำชานอ้อยมาทำเป็นกระดาษ
จัดเป็นองค์ประกอบความคิดสร้างสรรค์ด้านใด.

1.  ความคิดริเริ่ม (Originality)
2.  ความคิดยึดหยุ่น(Flexibility)
3.  ความคิดคล่องตัว (Fluency)
4.  ความคิดละเอียดลออ (Elaboration)

5.ขอใดตอไปนี้ไมใชระบบปฏบิัติการคอมพวเตอร ิ  
1. Microsoft Windows 
2. Ubuntu 
3. Symbian 
 4. MAC Address 
6.การหาสินคาและบริการผานทางเครือขายอินเทอรเน็ต เรียกวาอะไร 
1. E-Payment
2. E-Learning 

 3. E-Sourcing
4. E-News
7.ข้อใดเป็นเทคโนโลยีการเชื่อมต่อข้อมูลไร้สายทั้งหมด.

1.  Wi-Fi  ,  IP              2.  Wi-Fi  ,Bluetooth
3.  3G  ADSL              
4.  3G    Ethernet

8.ข้อใดไม่ใช่ข้อเสียของการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์.
1.  การทำผิดกฏหมายลิขสิทธิ์มีความผิดทางอาญา
2.  เป็นช่องทางหนึ่งในการระบาดของไวรัสคอมพิวเตอร์
3.  ผู้ใช้จะไม่ได้รับการบริการจากผู้พัมนาถ้าหากมีปัญหาการใช้งาน
4.  ทำให้ผู้พัมนาซอฟแวร์ไม่มีรายได้เพื่อประกอบการและพัฒนาต่อไปได้9.ข้อใดไม่ใช่ระบบปฏิบัติการที่นำมาใช้บนอุปกรณ์พกพา

ประเภท  Smartphone.
1.  Ubumtu      
2.  Iphone  os

3.  Android      
4.  Symbian
10.ลิขสิทธิ์โปรแกรมประเภทรหัสเปิด(Open Source)อนุญาต
ให้ผู้ใช้ทำอะไรได้บ้าง.
ก.  นำโปรแกรมมาใช้งานโดยไม่ต้องเสียค่าลิขสิทธิ์
ข.  ทดลองใช้โปรแกรมก่อนถ้าพอใจจึงจ่ายค่าลิขสิทธิ์
ค.  แก้ไขปรับปรุงโปรแกรมเองได้
1.  ข้อ  ก กับ  ข้อ  ค     
2.  ข้อ  ข  กับ  ข้อ  ค

3.  ข้อ  ข  อย่างเดียว    4.  ข้อ  ก  อย่างเดียว
Credit :  

http://forum.02dual.com/examfile/655topic/68b21dddcfd596977f43060fc4f45a34.pdf
http://forum.02dual.com/index.php?topic=655.0           
https://krupaga.wordpress.com/category/
https://krupaga.wordpress.com/category/







วันอาทิตย์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557


ฟังก์ชันของ PHP
                ฟังก์ชัน คือ โปรแกรมย่อยที่สามารถประมวลและคืนผลลัพธ์จากการประมวลนั้นสู่โปรแกรมหลักได้ ซึ่งจำเป็นในการเขียนโปรแกรมเพื่อช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพที่สูงขึ้น
                โดยฟังก์ชันของ PHP มี 2 ส่วน คือ
§  ฟังก์ชันที่ผู้ใช้สร้างขึ้นมาเอง
§  ฟังก์ชันที่มากับ PHP (สามารถเรียกใช้งานได้ทันที)
ชื่อของคลาสและฟังก์ชันที่ผู้ใช้ทำการกำหนดเองตลอดจน constructs และ keywords ต่างๆ เช่นecho, while, class เป็นต้น มีคุณสมบัติเป็นแบบ case-insensitive ตัวอย่างเช่น echo, ECHO,EcHo

แต่ในทางกลับกัน ชื่อตัวแปรต่างๆ นั้น PHP จะมองเป็น case-insensitive ตัวอย่าง เช่น $name, SNAME และ $NaMe

ฟังก์ชันที่ผู้ใช้สร้างขึ้นมาเอง
                ผู้ใช้สามารถสร้างฟังก์ชันขึ้นมาใหม่ทำได้โดยง่าย โดยอาศัยโครงสร้างพื้นฐาน ตัวแปร ค่าคงที่ โอเปอเรเตอร์ และการควบคุมโปรแกรมที่กล่าวมาแล้ว มาใช้ในการสร้างฟังก์ชัน สำหรับฟังก์ชันที่ผู้ใช้สร้างขึ้นมาเอง แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบคือ
§  ฟังก์ชันที่ไม่มีการส่งค่าระหว่างฟังก์ชัน
ฟังก์ชันแบบนี้ผู้ใช้จะต้องกำหนดชื่อ ขั้นตอนการทำงานของฟังก์ชันไว้ที่ต้นของโปรแกรมก่อน หลังจากนั้นสามารถเรียกใช้งานได้ทันที รูปแบบการสร้างฟังก์ชันมีดังนี้




     ฟังก์ชันที่มีการส่งค่าระหว่างฟังก์ชัน
ฟังก์ชันแบบนี้จะมีการรับค่าเพื่อนำไปคำนวณภายในฟังก์ชันจนได้ผลลัพธ์ที่ต้องการออกมา ภายในฟังก์ชันเป็นการใช้โครงสร้าง ตัวแปร โอเปอเรเตอร์ อื่นๆ รูปแบบการกำหนดฟังก์ชันจะเป็นดังนี้

การผ่านค่าตัวแปลแบบ reference ในฟังก์ชัน

วันเสาร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557


ประโยชน์ที่ได้รับจาก PHP

        ในปัจจุบัน Web Site ต่างๆได้มีการพัฒนาในด้านต่างๆ อย่างรวดเร็ว เช่น เรื่องของความสวยงามและแปลกใหม่ การบริการข่าวสารข้อมูลที่ทันสมัย เป็นสื่อกลางในการติดต่อ และสิ่งหนึ่งที่กำลังได้รับความนิยม เป็นอย่างมากซึ่ง ถือได้ว่าเป็นการปฏิวัติรูปแบบการขายของก็คือ E-commerce ซึ่งเจ้าของสินค้าต่างๆ ไม่จำเป็นต้องมีร้านค้าจริงและไม่จำเป็นต้องจ้างคนขายของอีกต่อไป ร้านค้าและตัวสินค้านั้น จะไปปรากฏอยู่บน Web Site แทน และการซื้อขายก็เกิดขึ้นบนโลกของ Internet แล้ว PHP ช่วยเราให้เป็นเจ้าของร้านบน Internet ได้อย่างไร PHP เป็นภาษาสคริปต์ที่มีความสามารถสูง สำหรับการพัฒนา Web Site และความสามารถที่โดดเด่นอีกประการหนึ่งของ PHP คือ database enabled web page ทำให้เอกสารของ HTML สามารถที่จะเชื่อมต่อกับระบบฐานข้อมูล (database) ได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว จึงทำให้ความต้องการในเรื่องการจัดรายการสินค้าและรับรายการสั่งของตลอดจนการจัดเก็บ ข้อมูลต่างๆ ที่สำคัญผ่านทาง Internet เป็นไปได้อย่างง่ายดาย

ตัวอย่างภาษาพีเอชพี

ภาษาพีเอชพี จะเป็นส่วนประกอบภายในเว็บเพจ โดยคำสั่งจะปรากฏระหว่าง <?php ...  ?> เช่น
<?php
    echo "Hello, World!";
?>

<?php
    echo "Hello World."; 
?>

<script language="php">
    echo "Hello World.";
</script>
โครงสร้าง ควบคุมของ PHP จะมีความคล้ายคลึงกับ C/C++ มาก เช่น if , for , switch และมีบางส่วนที่คล้าย Perl สามารถกำหนดตัวแปรโดยไม่ต้อง กำหนดชนิดของตัวแปรว่าจะเป็น int, float, boolean เป็นต้น
<?php
    for ($i = 0; $i < 10; $i++){
       echo "Test".$i; 
    }
?>
ตัวอย่างการเขียน php แบบ oop
<?php
    class MyClass
    {
        private $var = 'Hello World!';
        public function getHello()
        {
            return $this->var;
        }
    }
    $obj = new MyClass();
    echo $obj->getHello();
?>

การรองรับพีเอชพี

คำสั่งของพีเอชพี สามารถสร้างผ่านทางโปรแกรมแก้ไขข้อความทั่วไป เช่น โน้ตแพด หรือ vi ซึ่งทำให้การทำงานพีเอชพี สามารถทำงานได้ในระบบปฏิบัติการหลักเกือบทั้งหมด โดยเมื่อเขียนคำสั่งแล้วนำมาประมวลผล ApacheMicrosoft Internet Information Services (IIS) , Personal Web Server, Netscape และ iPlanet servers, Oreilly Website Pro server, Caudium, Xitami, OmniHTTPd, และอื่นๆ อีกมากมาย. สำหรับส่วนหลักของ PHP ยังมี Module ในการรองรับ CGI มาตรฐาน ซึ่ง PHP สามารถทำงานเป็นตัวประมวลผล CGI ด้วย และด้วย PHP, คุณมีอิสรภาพในการเลือก ระบบปฏิบัติการ และ เว็บเซิร์ฟเวอร์ นอกจากนี้คุณยังสามารถใช้สร้างโปรแกรมโครงสร้าง สร้างโปรแกรมเชิงวัตถุ (OOP) หรือสร้างโปรแกรมที่รวมทั้งสองอย่างเข้าด้วยกัน แม้ว่าความสามารถของคำสั่ง OOP มาตรฐานในเวอร์ชันนี้ยังไม่สมบูรณ์ แต่ตัวไลบรารีทั้งหลายของโปรแกรม และตัวโปรแกรมประยุกต์ (รวมถึง PEAR library) ได้ถูกเขียนขึ้นโดยใช้รูปแบบการเขียนแบบ OOP เท่านั้น
พีเอชพีสามารถทำงานร่วมกับฐานข้อมูลได้หลายชนิด ซึ่งฐานข้อมูลส่วนหนึ่งที่รองรับได้แก่ ออราเคิล dBase PostgreSQL IBM DB2 MySQL Informix ODBC โครงสร้างของฐานข้อมูลแบบ DBXซึ่งทำให้พีเอชพีใช้กับฐานข้อมูลอะไรก็ได้ที่รองรับรูปแบบนี้ และ PHP ยังรองรับ ODBC (Open Database Connection) ซึ่งเป็นมาตรฐานการเชื่อมต่อฐานข้อมูลที่ใช้กันแพร่หลายอีกด้วย คุณสามารถเชื่อมต่อกับฐานข้อมูลต่างๆ ที่รองรับมาตรฐานโลกนี้ได้
พีเอชพียังสามารถรองรับการสื่อสารกับการบริการในโพรโทคอลต่างๆ เช่น LDAP IMAP SNMP NNTP POP3 HTTP COM (บนวินโดวส์) และอื่นๆ อีกมากมาย คุณสามารถเปิด Socket บนเครื่อข่ายโดยตรง และ ตอบโต้โดยใช้ โพรโทคอลใดๆ ก็ได้ PHP มีการรองรับสำหรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลแบบ WDDX Complex กับ Web Programming อื่นๆ ทั่วไปได้ พูดถึงในส่วน Interconnection, พีเอชพีมีการรองรับสำหรับ Java objects ให้เปลี่ยนมันเป็น PHP Object แล้วใช้งาน คุณยังสามารถใช้รูปแบบ CORBA เพื่อเข้าสู่ Remote Object ได้เช่นกัน
ความสามารถของภาษา PHP

  • เป็นภาษาที่มีลักษณะเป็นแบบ Open source ผู้ใช้สามารถ Download และนำ Source code ของ PHP ไปใช้ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
  • เป็นสคริปต์แบบ Server Side Script ดังนั้นจึงทำงานบนเว็บเซิร์ฟเวอร์ ไม่ส่งผลกับการทำงานของเครื่อง Client โดย PHP จะอ่านโค้ด และทำงานที่เซิร์ฟเวอร์ จากนั้นจึงส่งผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลมาที่เครื่องของผู้ใช้ในรูปแบบของ HTML ซึ่งโค้ดของ PHP นี้ผู้ใช้จะไม่สามารถมองเห็นได้
  • PHP สามารถทำงานได้ในระบบปฎิบัติการที่ต่างชนิดกัน เช่น Unix, Windows, Mac OS หรือ Risc OS อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจาก PHP เป็นสคริปต์ที่ต้องทำงานบนเซิร์ฟเวอร์ ดังนั้นคอมพิวเตอร์สำหรับเรียกใช้คำสั่ง PHP จึงจำเป็นต้องติดตั้งโปรแกรมเว็บเซิร์ฟเวอร์ไว้ด้วย เพื่อให้สามารถประมวลผล PHP ได้
  • PHP สามารถทำงานได้ในเว็บเซิร์ฟเวอร์หลายชนิด เช่น Personal Web Server(PWS), Apache, OmniHttpd และ Internet Information Service(IIS) เป็นต้น
  • ภาษา PHP สนับสนุนการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ (Object Oriented Programming)
  • PHP มีความสามารถในการทำงานร่วมกับระบบจัดการฐานข้อมูลที่หลากหลาย ซึ่งระบบจัดการฐานข้อมูลที่สนับสนุนการทำงานของ PHP เช่น Oracle, MySQL, FilePro, Solid, FrontBase, mSQL และ MS SQL เป็นต้น
  • PHP อนุญาตให้ผู้ใช้สร้างเว็บไซต์ซึ่งทำงานผ่านโปรโตคอลชนิดต่างๆ ได้ เช่น LDAP, IMAP, SNMP, POP3 และ HTTP เป็นต้น
  • โค้ด PHP สามารถเขียน และอ่านในรูปแบบของ XML ได้

โครงสร้างของภาษา PHP
     ภาษา PHP มีลักษณะเป็น embedded script หมายความว่าเราสามารถฝังคำสั่ง PHP ไว้ในเว็บเพจร่วมกับคำสั่ง(Tag) ของ HTML ได้ และสร้างไฟล์ที่มีนามสกุลเป็น .php, .php3 หรือ .php4 ซึ่งไวยากรณ์ที่ใช้ใน PHP เป็นการนำรูปแบบของภาษาต่างๆ มารวมกันได้แก่ C, Perl และ Java ทำให้ผู้ใช้ที่มีพื้นฐานของภาษาเหล่านี้อยู่แล้วสามารถศึกษา และใช้งานภาษานี้ได้ไม่ยาก 
ตัวอย่างที่ 1
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
<html>
<head>
<title>Example 1 </title>
</head>
<body>

<?
   echo"Hi, I'm a PHP script!";
?>

</body>
</html>

     จากตัวอย่าง บรรทัดที่ 6 - 8 เป็นส่วนของสคริปต์ PHP ซึ่งเริ่มต้นด้วย <? ตามด้วยคำสั่งที่เรียกฟังก์ชั่นหรือข้อความ และปิดท้ายด้วย ?> สำหรับตัวอย่างนี้เป็นสคริปต์ที่แสดงข้อความว่า "Hi, I'm a PHP script" โดยใช้คำสั่ง echo ซึ่งเป็นคำสั่งที่ใช้ในการแสดงผลของภาษาสคริปต์ PHP ซึ่งจะแสดงผลดังนี้ Hi, I'm a PHP script!
 เราสามารถฝังคำสั่ง PHP ไว้ในเว็บเพจหนึ่งๆ โดยเปิดและปิดด้วยแท็ก(Tag) ของ PHP กี่ครั้งก็ได้ ดังตัวอย่างต่อไปนี้

ตัวอย่างที่ 2
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
<html>
<head>
<title>Example 1 </title>
</head>
<body>

<table border=1>
<tr>
<td>
<? echo"PHP script block 1"; ?></td>
<td>
<? echo"PHP script block 2 "; ?></td>
</tr>
</table>

<?
   echo"PHP script block 3 <br> ";
   echo date("ขณะนี้เวลา H:i น.");
?>

</body>
</html>

แสดงผลลัพธ์
PHP script block 1PHP script block 2
PHP script block 3 
ขณะนี้เวลา 20:52 น.

      PHP
PHP ย่อมาจากคำว่า "Personal Home Page Tool" เป็น Server Side Script ที่มีการทำงานที่ฝั่งของเครื่องคอมพิวเตอร์ Server ซึ่งรูปแบบในการเขียนคำสั่งการทำงานนั้นจะมีลักษณะคล้ายกับภาษา Perl หรือภาษา C และสามารถที่จะใช้ร่วมกับภาษา HTML ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะทำให้รูปแบบเว็บเพจมีความสามารถเพิ่มขึ้นในด้านของการเขียนโปรแกรม ในการสร้างเว็บจะใช้ Script อยู่ 2 แบบด้วยกันคือ
       - Server-Side Script เป็นลักษณะของภาษาที่ทำงานบนเครื่อง Server เช่น CGI, ASP
       - Client-Side Script เป็นลักษณะของภาษาที่ทำงานบนเครื่องผู้ใช้เช่น JavaScript, VBScript
        ความสามารถของ PHP นั้น สามารถที่จะทำงานเกี่ยวกับ Dynamic Web ได้ทุกรูปแบบ เหมือนกับ CGI หรือ ASP ไม่ว่าจะเป็นการดูแลจัดการระบบฐานข้อมูล ระบบรักษาความปลอดภัยของเว็บเพจ การรับ - ส่ง Cookies เป็นต้น
       แต่ที่เป็นคุณสมบัติเด่นของ PHP ก็น่าจะเป็นการติดต่อกับโปรแกรมจัดการระบบฐานข้อมูล ที่มีอยู่มากมาย ซึ่งฐานข้อมูลที่ PHP สนับสนุนมีดังนี้
Adabas D        InterBase Solid           Microsoft Access
dBase              mSQL                                     Sybase
Empress           MySQL                       Velocis
FilePro             Oracle                          Unix dbm
Informix          PostgreSQL                SQL Server

วันเสาร์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557


ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์

ความหมายของฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์

              ความหมายของฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์เป็นฐานข้อมูลในระดับภายนอก  และระดับแนวคิดแก่ผู้ใช้ข้อมูลได้เป็นอย่างดี  รีเลชั่ต่าง ๆ ในฐานข้อมูลจะประกอบด้วย  แอทริบิวต์ต่าง ๆ ที่ถูกออกแบบมาเพื่อลดความซ้ำซ้อนของการเก็บข้อมูล  และสามารถเรียกใช้ข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ข้อดีของฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์
                 มีดังนี้
      1. ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์เป็นกลุ่มข้อมูลของรีเลชั่นหรือตารางที่ข้อมูลถูกจัดเก็บเป็นแถวหรือคอลัมน์  ซึ่ง
          ทำให้ผู้ใช้เห็นภาพของข้อมูลได้ง่าย
      2. ผู้ใช้ไม่ต้องรู้ว่าข้อมูลถูกจัดเก็บอย่างไร  รวมถึงวิธีการเรียกใช้ข้อมูล
      3. ภาษาที่ใช้เป็นการเรียกใช้ข้อมูล  เป็นลักษณะคล้ายภาษาอังกฤษ  และไม่จำเป็นต้องเขียนเป็นลำดับขั้น
      4. การเรียกใช้หรือเชื่อมโยงข้อมูลทำได้ง่าย  โดยใช้โอเปอร์เรเตอร์ทางคณิตศาสตร์
คุณลักษณะในการจัดเก็บข้อมูล
            ภาษาที่ใช้ในการควบคุมข้อมูล  ประกอบด้วยคำสั่งที่ใช้ในการควบคุมความถูกต้องของข้อมูล  หรือป้องกันการเกิดเหตุการณ์ที่ผู้ใช้หลายคสเรียกใช้ข้อมูลพร้อมกัน  ในขณะที่ข้อมูลนั้น ๆ กำลังปรับปรุงแก้ไขอยู่   ซึ่งเป็นเวลาเดียวกับผู้ใช้อีกคนหนึ่งก็เรียกใช้ข้อมูลนี้  และได้ค่าที่ไม่ถูกต้อง  เพราะผู้ใช้คนแรกยังปรับปรุงแก้ไขไม่เสร็จ
กฎที่เกี่ยวข้องในฐานข้อมูล
    กฎความบูรณภาพของเอนทิตี้
              กฎนี้ระบุว่า  แอทริบิวต์ใดที่จะเป็นคีย์หลักในแอทริบิวต์นั้นจะเป็นค่าเอกลักษณ์ ( Unique )  และเป็นค่าว่าง  (  Null  )  ความหมายของการเป็นค่าว่างไม่ได้  (  Not  full )  ในที่นี้จะหมายรวมถึงข้อมูลของแต่ละ
    แอทริบิวต์ที่เป็นค่าหลักจะเป็นค่าว่างไม่ได้  และเป็นค่าเอกลักษณ์ในการที่จะระบุค่าของแอทริบิวต์อื่น ๆ   ใน
    ทูเพิลอื่น ๆ ได้
    กฎความบูรณภาพของการอ้างอิง
            การอ้างอิองข้อมูลระหว่างรีเลชั่นในฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์จะใช้คีย์นอก  ของรีเลชั่นหนึ่งไปตรวจสอบกับค่าของแอทริบิวต์ที่เป็นคีย์หลัก  ของรีเลชั่นหนึ่ง  เพื่อเรียกดูข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง  กล่าวอีกนัยหนึ่ง  คือ  ค่าของคีย์นอกจะต้องสามารถอ้างอิงให้ตรงกันกับค่าขอแงคีย์หลักได้  จึงจะเชื่อมโยงหรืออ้างอิงข้อมูลข้อมูลระหว่างรีเลชั่นได้
            ในกรณีที่มีการแก้ไขหรือลบข้อมูล  จะทำได้หรือไม่นั้น  ขึ้นอยู่กับการออกแบบฐานข้อมูล  มี  4  ทางเลือก  คือ
      1. การลบหรือแก้ไขข้อมูลแบบมีข้อจำกัด  (  Restrict  )
                การลบหรือการแก้ไขข้อมูลจะกระทำได้เมื่อข้อมูลของคีย์หลักในรีเลชั่นหนึ่งไม่มีข้อมูลที่จะอ้างอิงโดยคีย์นอกำจากรีเลชั่นหนึ่ง  เช่น  รหัสแผนก  DEPNO  ในรีเลชั่น  DEP  จะถูกแก้ไขหรือลบทิ้งก็ต่อเมื่อไม่มีพนักงานคนใดสังกัดอยู่
      2. การลบหรือแก้ไขข้อมูลแบบต่อเรียง  (  Cascade )
               การลบหรือการแก้ไขข้อมูลจะทำแบบลูกโซ่  คือ  หากมีการแก้ไขหรือลบข้อมูลของคีย์หลักในรีเลชั่นหนึ่ง  ระบบจะทำการลบหรือการแก้ไขข้อมูลของคีย์นอกในรีเลชั่นหนึ่ง  ที่อ้างอิงถึงข้อมูลของคีย์หลักที่ถูกลบให้ได้
      3. การลบหรือแก้ไขข้อมูลโดยเปลี่ยนเป็นค่าว่าง (  Nullify  )
การลบหรือการแก้ไขข้อมูลจะทำได้เมื่อมีการเปลี่ยนค่าของคีย์นอกที่ถูกอ้างอิงให้เป็นค่าว่างเสียก่อน
      4. แก้ไขข้อมูล โดยกำหนดค่าปริยาย  (  Default  )
             การแก้ไขข้อมูลของคีย์หลักสามารถทำได้  โดยถ้าหากมีคีย์นอกที่อ้างอิงถึงคีย์หลักที่ถูกแก้ไข  จะทำการปรับค่าของคีย์นอกนั้นเป็นค่าโดยนอกนั้นเป็นค่าโดยปริยาย  ที่ถูกกำหนดขึ้น

ภาษาที่ใช้ในฐานข้อมูลมี 3 ประเภท คือ
      1.  ภาษาสำหรับนิยามข้อมูล ( Data Defintion : DDL )  
              ภาษาสำหรับนิยามข้อมูล ประกอบด้วยคำสั่งที่ใช้ในการกำหนดโครงสร้างข้อมูลว่ามี  แอทริบิวต์อะไร  เก็บ
    ข้อมูลประเภทใด  การเพิ่มแอทริบิวต์  การกำหนดดัชนีที่ใช้ในการจัดเก็บข้อมูล  การกำหนดวิวของผู้ใช้จากเอนทิตี้พนักงาน  สามารถใช้ภาษาที่ใช้ในการจัดการฐานข้อมูล  กำหนดโครงสร้างของตารางพนักงานว่าประกอบด้วยอะไรบ้าง  ภาษาที่ใช้ คือ  SQL  
      2.  ภาษาสำหรับจัดดำเนินการข้อมูล  ( Data Mainpopula Langquage )
              ภาษาสำหรับจัดดำเนินการข้อมูล  ประกอบด้วยคำสั่งที่ใช้ในการเรียกใช้ข้อมูล  การเปลี่ยนแปลงข้อมูล
    การเพิ่มหรือลบข้อมูล  สามารถใช้ SQL  ในการเรียกข้อมูลต่าง ๆ มาดู
      3. ภาษาที่ใช้ในการควบคุมข้อมูล ( Data Control Langquage )
             ภาษาที่ใช้ในการควบคุมข้อมูล  ประกอบด้วยคำสั่งที่ใช้ในการควบคุมความถูกต้องของข้อมูล  หรือป้องกันการเกิดเหตุการณ์ที่ผู้ใช้หลายคสเรียกใช้ข้อมูลพร้อมกัน  ในขณะที่ข้อมูลนั้น ๆ กำลังปรับปรุงแก้ไขอยู่   ซึ่งเป็นเวลา
    เดียวกับผู้ใช้อีกคนหนึ่งก็เรียกใช้ข้อมูลนี้  และได้ค่าที่ไม่ถูกต้อง  เพราะผู้ใช้คนแรกยังปรับปรุงแก้ไขไม่เสร็จ

ความเป็นอิสระของข้อมูล

การแบ่งระดับของข้อมูลรวมถึงการเชื่อมโยงของข้อมูล  ล้วนแต่เป็นจุดเด่นของฐานข้อมูล  ในด้านความ
เป็นอิสระของข้อมูล  ซึ่งแบ่งออกได้เป็น  2  ประเภท  คือ
    1. ความเป็นอิสระของข้อมูลเชิงตรรกะ  (  Logical  Data  Independence  )
      ความเป็นอิสระของข้อมูลเชิงตรรกะ    เป็นความอิสระของข้อมูลในระดับแนวคิด   (Conceptual  )     กับระดับภายนอก  (  External  Level  )  นั่นเอง   หากมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลในระดับแนวคิดจะไม่มีผลต่อเค้าร่างในระดับภายนอก  หรือโปรแกรมประยุกต์ใช้งาน  หรือจะเป็นการปรับโครงสร้าง
        2.ความเป็นอิสระในเชิงกายภาพ  (  Physical Data  Independence  )
                   ความเป็นอิสระในเชิงกายภาพ   เป็นความเป็นอิสระของข้อมูลภายใน  (  Internal  Level  )  กับระดับแนวคิด  (  Conceptual  Level  )  หรือระดับภายนอก    (  External  Level  )  เช่นการเพิ่มประสิทธิภาพการเรียกดูข้อมูลให้เร็วขึ้น  โดยการปรับปรุงเค้าร่างภายใน  โดยไม่กระทบถึงเค้าร่างแนวคิด  หรือเค้าร่างภายนอก


เค้าร่างของฐานข้อมูล
              ในการออกแบบฐานข้อมูลใด  จะต้องระบุถึงเอนทิตี้ชื่ออะไรบ้าง    และในแต่ละเอนทิตี้ประกอบด้วยแอทริบิวต์อะไร  รวมถึงความสัมพันธ์ของข้อมูลในเอนทิตี้   ที่มีอยู่ว่ามีความสัมพันธ์ในลักษณะใด    รายละเอียดของโครงสร้างของฐานข้อมูลนี้เรียกว่า  เค้าร่างของฐานข้อมูล  (  Database  Schema  )  โดยทั่วไปเค้าร่างของฐานข้อมูลมักจะไม่เปลี่ยนแปลงบ่อยนัก  แต่อาจมีการเปลี่ยนแปลงบ้างในบางครั้ง  ถ้าการเปลี่ยนแปลงทำให้ฐานข้อมูลเหมาะสมมากยิ่งขึ้น  ข้อมูลจะถูกบันทึกลงในฐานข้อมูลในขณะใดขณะหนึ่ง  เรียกว่า  อินสแตนซ์  กล่าวอีกนัยหนึ่ง  คือ  เมื่อกำหนดเค้าร่างของฐานข้อมูลจะยังไม่มีข้อมูลอยู่คือ  อินสแตนซ์ว่าง  จนกว่าจะมีการบันทึกข้อมูลลง

    สถาปัตยกรรมฐานข้อมูล มี 3 ระดับ คือ
    ระดับภายนอก หรือ วิว ( External หรือ view )  
                    ระดับภายนอกหรือวิว  เป็นระดับของข้อมูลที่ประกอบด้วยภาพที่ผู้ใช้แต่ละคนมองข้อมูล  (  View  )  เค้าร่างของฐานขั้อมูลระดับนี้จะเกิดภาพและความต้องการของข้อมูลของผู้ใช้
      ระดับแนวคิด ( Conceptual Level )
               ประกอบด้วยเค้าร่างที่อธิบายถึงฐานข้อมูลรวมว่ามีเอนทิตี้     โครงสร้างของข้อมูล     ความสัมพันธ์ของข้อมูล  กฎเกณฑ์และข้อจำกัดต่าง ๆ อย่างไรบ้าง   ข้อมูลในระดับนี้เป็นข้อมูลที่ผ่านการวิเคราะห์   และออกแบบฐานข้อมูลต่าง ๆ ในระดับภายนอกสามารถเรียกใช้ข้อมูลได้  ซึ่งผู้ใช้ทั่วไปในระดับภายนอก  อาจจะต้องการใช้ข้อมูลที่แตกต่างกัน 
        ระดับภานใน ( Internal หรือ Physical Level )
                  ระดับภายใน  ประกอบด้วยเค้าร่างที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บข้อมูลจริง ๆ  ว่ามีโครงสร้างการจัดเก็บรูปแบบใด  รวมถึงวิธีการเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ ในฐานข้อมูลเพื่อดึงข้อมูลที่ต้องการ  เช่น  การอินเด็กซ์  เป็นต้น  ความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลระดับต่าง ๆ จะถูกจัดการโดยระบบการจัดการฐานข้อมูล  ซึ่งเป็นการแปลความหมายของข้อมูลจากระดับหนึ่งไปยังอีกระดับหนึ่งนี้เรียกว่า  การแปลส่ง


รูปแบบฐานข้อมูล

             ฐานข้อมูลแบบลำดับขั้น

โครงสร้างของฐานข้อมูลแบบลำดับขั้น  เป็นโครงสร้างที่จัดเก็บข้อมูลในลักษณะความสัมพันธ์แบบ  พ่อ – ลูก
            เค้าร่างของฐานข้อมูลเชิงลำดับขั้น  (Hierarchical  Database  Schema)  ประกอบด้วย  ประเภทของเรคคอร์ด  (Record  Type)  และความสัมพันธ์ดังนี้
    1. ประกอบด้วย  3  เรคคอร์ด  คือ  แผนก  พนักงาน  และโครงการ
    2. ประกอบด้วยความสัมพันธ์แบบ  PCR  2  ประเภท  คือ ความสัมพันธ์ของข้อมูลแผนกกับพนักงาน  และความสัมพันธ์
    ของข้อมูลแผนกกับโครงการ  โดยที่มีแผนกเป็นเรคคอร์ด  พ่อ –  แม่   และพนักงานกับโครงการเป็นเรคคอร์ดประเภท
    ลูก
     
       ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์
         
                  ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์  เป็นการจัดเก็บข้อมูลของเอนทิตี้ในรูปแบบของตาราง  ที่มีลักษณะเป็น  2  มิติ  คือ  เป็นแถว    (Row)    และเป็นคอลัมภ์    (Column) ในการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างตารางจะเชื่อมโยงโดยใช้แอททริบิวต์ที่มีอยู่ในทั้งสองตารางเป็นต้วเชื่อมโยงข้อมูลกัน    ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์นี้จะเป็นรูปแบบที่ใช้ในปัจจุบัน

      ฐานข้อมูลแบบเครือข่ายงาน

                  โครงสร้างของข่ายงานประกอบด้วยประเภทของเรคคอร์ด  และกลุ่มของข้อมูลของเรคคอร์ดนั้น ๆ เช่นเดียวกับโครงสร้างของฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์และเชิงลำดับชั้น ความสัมพันธ์ระหว่างประเภทของเรคคอร์ดในฐานข้อมูล  เรียกว่า       Set  Type  ซึ่งสามารถแสดงในแผนภูมิที่เรียกว่า  Bachman  diagram  อันมีองค์ประกอบดังนี้
          1. ชื่อของ  Set  Type
          2. ชื่อของประเภทของเรคคอร์ดหลัก
          3. ชื่อของเรคคอร์ดที่เป็นสมาชิก
              จากรูปประกอบด้วย  Set  type  ที่ชื่อว่า  วิชาเอก  โดยมีแผนกเป็นเรคคอร์ดหลัก  และมีนักศึกษาเป็นเรคคอร์ด
      สมาชิก  โดยมีความสัมพันะแบบ  1  :  N
   


ฐานข้อมูล 



           ฐานข้อมูล คือ ชุดของสารสนเทศที่มีโครงสร้างสม่ำเสมอ ชุดของสารสนเทศใด ๆ ก็อาจเรียกว่าเป็นฐานข้อมูลได้ถึงกระนั้น คำว่าฐานข้อมูลนี้มักใช้อ้างถึงข้อมูลที่ประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์และถูกใช้ส่วนใหญ่เฉพาะในวิชาการคอมพิวเตอร์ บางครั้งคำนี้ก็ถูกใช้เพื่ออ้างถึงข้อมูลที่ยังมิได้ประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์เช่นกันในแง่ของการวางแผนให้ข้อมูลดังกล่าวสามารถประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ได้